หน้าแรก

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อินเตอร์เน็ตกับการศึกษาไทย


วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556










 ยุคแห่งสังคมความรู้ เป็นยุคที่การศึกษามีบทบาทต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยิ่ง อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางของการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วทั้งโลก เราต่างก้าวหน้าผ่านยุคแห่งสังคมข่าวสารมาแล้วซึ่งทำให้ประจักษ์ได้ว่าข่าวสารต่างๆนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และอื่นๆได้นั้นต้องอาศัยความรู้ในการจัดการ

                             ดังนั้นการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะระบบอินเทอร์เน็ตที่มีข้อมูลต่างๆมากมาย เปรียบเสมือนห้องสมุดโลกที่สามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้ในวิชาต่างๆได้ทั่วโลก ซึ่งถ้าหากว่าอาจารย์ ผู้สอนและนักเรียนมีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะเล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องแล้ว การเรียนการสอนที่นำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาประกอบ ก็สามารถช่วยทำให้อาจารย์ ผู้สอนและนักเรียนมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษายังมีความหมายครอบคลุมกิจกรรมด้านการศึกษาที่ถูกวางรูปแบบโดยครูผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารและการควบคุมนักเรียนทางไกลแบบ Online มีลักษณะพิเศษ ที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งทำกันเป็นปกติ ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตจึงประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลัก ประการ ได้แก่
  •  การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมกับระดับผู้เรียน
  • การเสริมทักษะความรู้เพื่อให้ครูสามารถดำเนินการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การกำหนดเป้าหมายการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน

                           อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งเกิดจากการเชื่อมเครือข่ายย่อยๆ จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นชนิดใดหรือขนาดใดก็ตาม สามารถส่งผ่านและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศซึ่งกันและกันได้ โดยใช้  โปรโตคอล(Protocol)” ที่มีชื่อว่า TCP/IP เป็นมาตรฐานในการส่งผ่านข้อมูล (TCP/IP คือ โปรโตคอลหรือมาตรฐานการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดและต่างเครือข่ายกัน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้) โดยการเชื่อมต่อนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ตลอดจนการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณดาวเทียม

          การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                         กิจกรรมการศึกษาในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความสัมพันธ์ของ กิจกรรมต่าง ๆ เพราะจำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามีความ สัมพันธ์กันในอัตราส่วนที่ลดลงโดยพบว่าขั้นพื้นฐานจะมีจำนวนประชากรที่ใช้ อินเทอร์เน็ตมาก จำนวนของผู้ใช้ที่มีทักษะหรือความสามารถในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตกลับมีจำนวนที่ลดลง
                         จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้วิธีการที่จะสร้างให้มีกิจกรรมเพื่อการศึกษา ผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างได้ผล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการวางแผนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เป็นบริการสาธารณูปโภคของประเทศ ที่มีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเวลาอัน รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับการสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัย (Uninet)  ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาก็ได้รับการสนับสนุนจาก Schoolnet Thailand  เช่นกัน

          การบริการอินเทอร์เน็ตระดับพื้นฐาน
            แต่ละขั้นจะมีรูปแบบของกิจกรรมการศึกษาที่แตกต่างกัน การใช้ระบบเครือข่ายระดับพื้นฐานคือการใช้อินเทอร์เน็ตตามโครงสร้างของ สาธารณูปโภคที่มีใช้กันอยู่ในทุกแห่ง สาเหตุที่จะทำให้กลุ่มผู้ใช้ที่ยังไม่รู้จักเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนเจตคติมายอมรับเพื่อเข้าร่วมในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต น่าจะเป็นเพราะความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคล และความสามารถของอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นๆ ทั่วโลกด้วยเวลาอันรวดเร็ว  ด้วยเหตุนี้จึงสามารถแบ่งบริการที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ว่า
  • เป็นบริการด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลต่อกลุ่มบุคคล
  • เป็นบริการเพื่อการเข้าถึงแหล่งข้อมูล


          การเข้าถึงแหล่งข้อมูลและความรู้
                         ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลมากที่สุด ซึ่งผู้ใช้ที่มีอาชีพแตกต่างกันย่อมใช้บริการที่มีอยู่ในปริมาณต่างกัน บ้างเป็นการสืบค้นข้อมูลที่เป็นตัวอักษร บ้างก็เป็นข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบของมัลติมีเดีย ที่ล้วนแต่แปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วทั้งสิ้น
                         ทางด้านการศึกษา อาจจะคล้ายคลึงกับการไปห้องสมุดที่หาตำรา วารสาร โดยที่มีบรรณารักษ์คอยให้คำปรึกษา เพื่อจะได้ข้อมูลและความรู้ที่ต้องการ การใช้ข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียว เพราะผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ทันที สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตได้แม้จะอยู่ต่างสถานที่ก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าในการศึกษาครั้งนั้นมีจุดประสงค์แตกต่างกัน
  
          การร่วมกันใช้ข้อมูล แหล่งความรู้
                         การร่วมใช้ข้อมูลและแหล่งความรู้ เป็นเรื่องปกติของกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการจะมีประสบการณ์ด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้จะไม่เพียงแต่มีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลหรือผู้เชี่ยวชาญเพียงลำพังเท่านั้น แต่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ต เช่น การแสดงความคิดเห็น การสนทนา ผ่านเครือข่ายกับผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน การสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์กรต่าง ๆ เพื่อร่วมกันใช้ข้อมูลหรือร่วมแสดงความคิดเห็น

          การร่วมมือ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันบริหาร
                         ปัจจุบันมีรูปแบบของการร่วมกันในเครือข่ายอยู่ รูปแบบ ได้แก่ การร่วมมือ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันบริหาร ซึ่งเป็นการทำงานระหว่างบุคคลที่ยังบกพร่องในรูปแบบที่เหมาะสม แม้จะมีจุดหมายเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกันก็ตาม ย้อนกลับไปยังประเด็นการศึกษา ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างการเรียนในโรงเรียน หรือการเรียนทางไกลสำหรับผู้ใหญ่ ที่จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารกันตลอดเวลา ครูผู้สอนต้องจัดโปรแกรม กิจกรรมการเรียนการสอน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้  สำหรับการเรียนของนักเรียนก็เช่นกัน ที่ต้องจัดให้มีกิจกรรมที่จะร่วมกันทำ งานกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดบุคลิกภาพของการร่วมกันทำงานหรือต้องการให้สร้างสังคมของการเรียนรู้แบบร่วมมือนั้นเอง

          การใช้แหล่งทรัพยากรในอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
                         การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีความสัมพันธ์กับทุกส่วนของการศึกษา เช่นลักษณะการเรียนการสอน หลักสูตร เนื้อหาเวลาเรียน ห้องเรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างรูปแบบของกิจกรรม การอบรม การวิจัย กิจกรรมเสริมอื่นๆ ให้สอดคล้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตในระหว่าง จุดประสงค์ดังกล่าว เราพบการประยุกต์เนื้อหาหลายรูปแบบซึ่งนำไปสู่เป้าหมายทางการศึกษา (ทักษะและความสามารถที่ได้จากการเรียน) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงอาจเป็นทั้งเนื้อหาและเครื่องมือในเวลาเดียวกัน
                                จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ปัจจุบันจึงมีการเน้นให้เกิดการประยุกต์การศึกษาในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการสอนเพื่อให้เกิดทักษะและความรู้ต้องมาจากการออกแบบโครงการที่มีเฉพาะเจาะจงเพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ วิธีการ และเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดทางการศึกษา
                         อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาทางไกล เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและนำมาประยุกต์ใช้กับการอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษามากขึ้นเท่าใด ยิ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าของการศึกษาอย่างแท้จริง

          ความรู้และทักษะที่จำเป็นของครูผู้สอน
                         การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโดยตรง เพราะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์มาแก้ปัญหาทางการศึกษา ประโยชน์ของการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คือ ความสามารถในการสื่อสารที่หลากหลายระหว่างที่มีกิจกรรมทางเครือข่าย เหตุผลนี้สอดคล้องกับความสามารถและการจัดการเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างสถานที่หนึ่งไปยังสมาชิกที่อยู่ ณ สถานที่อื่น ความจำเป็นที่พึงระวังของผู้ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกนั่นเอง


          เป้าหมายของการศึกษาในระบบเครือข่าย
                         กระบวนการทางด้านการศึกษาใช้ระบบเครือข่ายเป็นพื้นฐานในการพัฒนามีการ เชื่อมโยงกับมิติทั้ง อันได้แก่ 1.) การบริการข้อมูลและสาธารณูปโภค   2.) ความรู้ และทักษะในการใช้บริการทั้งสองเพื่อฝึกฝนและเพื่อวิธีการและจุดประสงค์ที่ การศึกษาต้องการไปถึง   3.) เป้าหมายทางการศึกษาที่สูงสุด

          อินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษาดังนี้
     1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเทอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆว่า  อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้ โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกัน นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ไปใช้ทางการศึกษาได้ เช่น การแจ้งผลสอบผ่านทางอีเมล์ การส่งการบ้าน การโต้ตอบบทเรียนต่างๆระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
     2. ระบบข่าวสารอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจ หรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้ เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้ เช่น กลุ่มสนใจงานเกษตรก็สามารถมีกระดานข่าวของตนเองไว้สำหรับอภิปรายปัญหากันได้
     3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันและติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลก ทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หมายถึง สามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีค่าหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
     4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาถึงปัจจุบันฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดีทัศน์ และเสียง ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆทั่วโลก
     5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจอยู่ต่างประเทศอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในที่ห่างไกลก็พูดคุยกันเป็นกลุ่มได้
     6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือ สามารถที่จะโอนถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
     7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยได้และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมหาวิทยาลัยได้ เช่นมหาวิทยาลัยหนึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และผู้อยู่อีกมหาวิทยาลัยหนึ่งก็ขอใช้ได้ทำให้มีการใช้ทรัพยากรที่เป็น ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประโยชน์และคุ้มค่าอย่างยิ่ง
            ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้ หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่นๆเพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

          เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร
               เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) คือเทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษรและตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

          ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • การสื่อสารมีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ประกอบด้วย Communications media  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)   
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลให้การใช้งานด้านต่างๆมีราคาถูกลง 
  • เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และต้นทุนการใช้ IT มีราคาถูกลงมาก


          ภัยแฝงออนไลน์
  • สารสนเทศมากมายมหาศาลทั้งดีและไม่ดี ส่งตรงถึงห้องนอน
  • คนแปลกหน้า/ผู้ไม่ประสงค์ดี ใช้ไอทีเป็นช่องทางหาเหยื่อ เราอาจตกเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำเสียเอง
  • สังคมออนไลน์ การรวมกลุ่ม ค่านิยม แฟชั่น ทำให้เด็กและเยาวชนคล้อยตาม ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี ความฟุ้งเฟ้อ ความเชื่อผิดๆ
  • การที่ใช้งานง่าย แพร่หลาย ราคาถูก ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย/ผิดศีลธรรม ทั้งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยเจตนาก็ตาม
  • การใช้เวลากับของเล่นไอที/โลกออนไลน์มากจนเกินไป ส่งผลในด้านลบ อาจทำให้เสียโอกาสการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ


          การเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับเด็ก
กฎสำหรับการใช้อีเมล์
  • ไม่ให้ที่อยู่อีเมล์แก่คนที่เราไม่รู้จัก
  • ไม่เปิดอีเมล์จากคนหรือองค์กร/ธุรกิจที่เราไม่รู้จัก
  • อีเมล์อาจจะมีสิ่งที่ไม่ดีมากมาย เช่น เรื่องราวที่ไม่เป็นจริง การติฉินนินทา และจดหมายลูกโซ่ที่พยายามจะเอาเงินจากกระเป๋าเรา
  • ไวรัส อาจผ่านมากับข้อมูลอีเมล์เข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ของเรา
  • ภาพที่ไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย ภาพยนตร์ อาจถูกส่งมาพร้อมกับข้อมูลอีเมล

วิธีการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์
  • ปิดหน้าเว็บ
  • ไม่ได้ผล ปิดเบราเซอร์ browser
  • ถ้ายังไม่ได้ผล ปิดคอมพิวเตอร์พร้อมกับแจ้งผู้ปกครองหรือครู
  • จำไว้ว่า เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาโดยการบอกให้คนอื่นทราบหากเราพบอะไรผิดพลาด

กฎของการแชท
  • ไม่สามารถเชื่อได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนอย่างที่เค้าพูด
  • อย่าให้ชื่อจริง ควรใช้ชื่อสมมุติ
  • อย่าให้ข้อมูลว่าคุณอยู่ทีไหน หมายเลขโทรศัพท์ (โทรศัพท์มือถือ) เรียนอยู่ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร
  • ทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงกฎของแต่ละห้องแชท ที่จะเข้าไปเล่น
  • ให้จำไว้ว่าคุณอาจเป็นบุคคลนิรนามในอินเทอร์เน็ต แต่บ่อยครั้งที่คนอื่นสามารถสืบเสาะได้ว่าใครเป็นคนใส่ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ต้องมีความสุภาพกับผู้อื่นเสมอ

กฎของการแชท การสื่อสารทางออนไลน์
  • ไม่ออกไปพบกับบุคคลที่พบหรือรู้จักสื่อสารผ่านทางออนไลน์
  • ถ้ารู้สึกถูกกดดันจากการสื่อสารออนไลน์กับใคร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ
  • ให้ชื่ออีเมลกับเพื่อนที่รู้จักดี ไม่ควรให้กับคนแปลกหน้า
  • ปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบเสมอ อย่าให้ถูกหลอกล่อ หรือถูกกดดันเพื่อไปพบเจอกับคนที่รู้จักทางออนไลน์
  • หากถูกใครหรือสิ่งใดรบกวนในห้องแชท ให้รีบออกจากการสนทนาและอย่าติดต่อสนทนาอีก

กฎ – การป้องกันไวรัส และข้อมูลขยะ
  • หากข้อมูลบางอันรู้สึกดีเกินที่จะเชื่อได้ สรุปได้เลยว่าไม่จริง
  • ให้ระวังอีเมล์ที่บอกว่าโปรดส่งต่อให้ทุกๆคน เพราะอาจจะมีแต่เรื่องหลอกลวงไร้สาระหรือมีไวรัสที่ไม่ควรส่งต่อ
  • อย่าเข้าไปในเว็บไซด์ของธนาคารใดๆที่อ้างบอกให้คุณแจ้งรหัสผ่าน
  • เก็บรหัสผ่านเป็นความลับเสมอ
  • ให้ระมัดระวังเว็บไซด์ที่ให้ดาวน์โหลดฟรีหรือมีเกมให้เล่นฟรี เพราะอาจเต็มไปด้วยไวรัสหรือจะมีข้อมูลที่ไม่เหมาะสมส่งมาให้คุณ
  • บางครั้งบางคนอาจจะใช้ เล่ห์ ลวงให้คุณเชื่อมต่อไปยังเว็บไซด์ที่ไม่เหมาะสม

กฎการเผยแพร่เรื่องราวในเว็บบล็อก
  • ตรวจสอบให้มั่นใจว่าใส่เฉพาะข้อมูลที่ปลอดภัย
  • ให้มีรหัสส่วนตัวเพื่อปกป้องรูปภาพของคุณ
  • ต้องได้รับการอนุญาตจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ในการสร้างเว็บไซด์ของคุณเองและให้ท่านเหล่านั้นช่วยตรวจสอบ ทบทวนสม่ำเสมอ
  • อย่าใส่เรื่องราวส่วนตัวเข้าไปในเว็บบล็อกหรือในการสนทนากลุ่ม
  • จำเป็นต้องมีความระมัดระวังมากๆในการใส่อะไรลงไปในอินเทอร์เน็ต เพราะทันทีที่มีการเผยแพร่คนจากทั่วโลกสามารถเห็นได้และอาจมีการนำข้อมูลไปใช้ในทางผิดๆ

ข้อแนะนำการใช้อินเตอร์เน็ต
  •  เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต netiquette
  •  ทำตามหลักพื้นฐานความปลอดภัยและเรียนรู้วิธีการ แนวปฏิบัติเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เสี่ยง
  •  

มารยาททั่วไปในการใช้อินเตอร์เน็ต
  • ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อล่วงละเมิดหรือรบกวนผู้อื่น
  • ไม่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
  • ไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ในทางที่ผิด หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้นๆ
  • ไม่บอกรหัสกับผู้อื่นแม้แต่เพื่อนสนิท
  • ไม่ใช้บัญชีชื่อผู้ใช้ของผู้อื่นหรือใช้เครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ไม่ยืมหรือใช้โปรแกรม รูปภาพ หรือข้อมูลของผู้อื่นบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
  • ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
  • ไม่เจาะเข้าระบบของผู้อื่นหรือท้าลองให้ผู้อื่นเจาะระบบของตัวเอง
  • หากพบมีการรั่วไหลในระบบ หรือบุคคลน่าสงสัยให้รีบแจ้งผู้ให้บริการในทันที
  • หากต้องยกเลิกการใช้อินเตอร์เน็ตให้ลบข้อมูลทั้งหมดและแจ้งผู้ดูแลเว็บไซต์
  • ทิ้งบัญชีชื่อผู้ใช้งานไว้บนอินเตอร์เน็ตอาจทำให้มีผู้ไม่หวังดีเจาะเข้ามาในระบบได้

กฎความปลอดภัย
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ชื่อเพื่อนหรือผู้ปกครอง
  • ไม่นัดแนะเพื่อพบปะกับบุคคลที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่บอกผู้ปกครอง
  • ไม่ส่งรูปหรือข้อมูลส่วนตัวให้กับคนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
  • ไม่ให้ความสนใจหรือตอบโต้กับคนที่ถ้อยคำหยาบคาย
  • ไม่โหลดสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือเปิดเอกสารจากอีเมล์ของคนที่เราไม่รู้จัก
  • หากพบข้อความหรือรูปภาพรุนแรง ให้รีบแจ้งผู้ปกครองหรือคุณครู
  • เคารพในกฎระเบียบ นโยบาย หรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับผู้ปกครองและคุณครูในการใช้อินเตอร์เน็ต

10 วิธี ดูแลบุตรหลานที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต
  • พ่อแม่ควรเรียนรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตบ้าง
  • ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตกับลูกให้มากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องพูดคุยกัน
  •  ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องรวมของครอบครัว
  • ท่านต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้งานอินเทอร์เน็ตก่อนที่จะสอนลูก
  • สอนลูกให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานแต่ละอย่าง เช่น อีเมล์ แช็ท กลุ่มข่าว เว็บ การสำเนาข้อมูล รวมถึงกฎกติกามารยาทออนไลน์
  • ส่งเสริมให้ลูกใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสนุก ปลอดภัย และได้ประโยชน์
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ดูว่าเขาทำตัวแปลกไปกว่าที่เคยหรือไม่ 
  • พูดคุยกับลูกให้เข้าใจแต่แรก ถึงขอบเขตการใช้งานอินเทอร์เน็ต
  • ผู้ปกครองอาจติดตั้งโปรแกรมบล็อกเว็บไซต์ได้
  • หากท่านพบอะไรที่เหลือบ่ากว่าแรง อย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ


          การใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศเบื้องต้น     
        เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีบริการหลายชนิดที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั่วไปได้ ดังนี้
1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นการรับส่งข้อความที่มีขั้นตอนคล้ายกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ แต่เป็นระบบอัตโนมัติทางคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันได้ทั่วโลก ซึ่งสามารถโต้ตอบกันได้หรือทิ้งจดหมายไว้ในเครื่องกรณีผู้ติดต่อด้วยไม่ได้ อยู่ที่คอมพิวเตอร์
2. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจากระยะทางไกล (Remote Login) ด้วยโปรแกรม Telnet ซึ่งเป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่ห่างไกลเสมือนเครื่องของตนเอง ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้น
3. บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล โดยที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากการค้นหาข้อมูลที่ต้อง การจึงเป็นเรื่องยาก ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่มี Search Engine ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น Yahoo.com, Google.com เป็นต้น
 4. กลุ่มสนทนาและข่าวสาร (News Group) เป็นบริการแบ่งกลุ่มเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ
 5. การขนถ่ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถขนถ่ายแฟ้มข้อมูลโดยโปรแกรมต่าง ๆ ด้วยการ Download หรือ Upload ไฟล์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการได้โดยสะดวก
 6. บริการไฮเปอร์มีเดีย (Hyper-media) ด้วย World Wide Web หรือ WWW. ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเคอร์เน็ตในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสื่อสารได้ทั้งข้อความ รูปภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยใช้โปรแกรมแสดงผล (Browser) เช่น โปรแกรม Internet Explorer เป็นต้น
7. โปรแกรมสนทนา (Chat) เป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้โปรแกรมสนทนาสามารถพิมพ์ข้อความพูดคุยโต้ตอบใน ลักษณะทันทีทันใด (Real Time) สามารถสนทนาเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือเฉพาะบุคคลได้

สรุป
                         เพื่อส่งเสริมให้เป้าหมายทางการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ เราจำต้องจัดกิจกรรมทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์และพัฒนาความสามารถของครู เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงข้อมูลและการใช้บริการต่างๆ เพื่อเทคโนโลยีการสื่อสารในการศึกษา
                         การที่จะนำนักเรียนไปถึงเป้าหมายของการศึกษาซึ่งสัมพันธ์กับเครื่องมือต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต ครูจะต้องทดลองใช้ปฏิสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ตเสียก่อน ไม่เพียงแต่เพื่อให้เป็นผู้นำและผู้ออกแบบที่ประสบผลสำเร็จในด้านนี้เท่านั้น แต่เป็นการใช้เครือข่ายจากความต้องการของตนเองและเพื่อไปสู่เป้าหมายของกิจกรรม โดยได้รับการปรับหลักสูตรและจุดประสงค์ ให้สอดคล้องกับการเรียนแบบบรรยายอีกด้วย
นอกจากนี้การศึกษาที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแยกได้เป็น ประเด็น คือ
1.  การศึกษาระบบเครือข่าย หมายถึง ข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารถูกมองว่าเป็นแขนงวิชาหนึ่งในการกระบวนการเรียนการสอน
2.  การใช้เครือข่ายเพื่อการศึกษา หมายถึง ข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารถูกใช้เป็นเครื่องมือและองค์ประกอบในระบบการ ศึกษา เช่น การเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
                         ผู้นำโครงการทางการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตต้องมีความรู้และความสามารถ จัดให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานกับสมาชิกในกลุ่มได้ โดยมีการปรับปรุงการบริหาร การร่วมกันใช้ข้อมูล การจัดการของกลุ่มการเรียน และการหาเครือข่าย ด้วยการใช้คุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องมือที่มีอยู่แล้วจัดให้เป็นแหล่งความรู้และนำไปสู่ความสำเร็จของกระบวนการศึกษา



อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา อาหารสมอง ของนักเรียนชนบท
                         เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กรและสังคมในทุกๆส่วน อย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ นับวันเทคโนโลยีดังกล่าวก็ยิ่งขยับเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกขณะ การพัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งในรูปแบบและขอบเขตของการศึกษาภายใต้การปฏิรูปทางการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ.2542 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ในการพัฒนาการศึกษาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'อินเทอร์เน็ตที่ช่วยขยายแหล่งความรู้นั้นให้กระจายไปยังเยาวชนนักเรียนนักศึกษา โดยสามารถเข้าไปค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างไร้ขีดจำกัดและขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กระจายไปยังกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในภูมิภาคห่างไกลด้วย
                         มาตรา แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ระบุว่า การศึกษาหมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                         อินเทอร์เน็ตจึงเป็นขุมความรู้ปริมาณมหาศาลและเป็นเครื่องมือสื่อสารสืบค้นที่สะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน สามารถเอื้อให้เกิดการเรียนรู้จากทุกที่ไม่จำกัดแค่เพียงในห้องเรียนหรือในเวลาเรียนเท่านั้น จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาทั้งในและนอกระบบและตามอัธยาศัย ที่สำคัญยังเปิดกว้างสำหรับทุกคนที่ต้องการศึกษาหาความรู้ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการศึกษาพัฒนาความรู้ตลอดชีวิตสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ
                         อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระหว่างกลุ่มคนในสังคม และเป็นการเพิ่มพูนการเรียนรู้ของบรรดานักเรียนที่เตรียมพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นบุคลากรที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นการผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่สังคมแห่งปัญญาและความรู้ (Knowledge based Society) ในอนาคตข้างหน้า สำหรับประเทศไทย การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนยังปรากฏความไม่เสมอภาคค่อนข้างชัด อาจจะสืบเนื่องมาจากข้อจำกัดทางทุนทรัพย์ ปัญหาทางด้านการสื่อสาร หรือโทรคมนาคมพื้นฐาน การขาดความรู้ความเข้าใจ หรือไม่เล็งเห็นประโยชน์ซึ่งหากปัญหาความไม่เสมอภาคในเรื่องนี้ ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ช่องว่างของโอกาสการเรียนรู้ของคนไทย และนักเรียนจะกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านศึกษาเพิ่มมากยิ่งขึ้น
                                โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School Net) ซึ่งริเริ่มและดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ด้วยความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่ลดความไม่เสมอภาคดังกล่าวโดยการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแก่โรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลแก่อาจารย์และนักเรียน เพื่อให้เทคโนโลยีถูกใช้เพื่อการพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป
                         เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการประสานงานการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา กล่าวถึงนโยบายการจัดการจัดงาน มหกรรมอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาในโรงเรียน (School Net Day) ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ครูอาจารย์จากโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ได้เห็นถึงประโยชน์ของการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ทางด้านวิชาการซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความทั่วถึงและเท่าเทียมทางด้านการศึกษาให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และเป็นการยกระดับการศึกษาของเด็กไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ อีกทั้งยังเป็นโครงการที่สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Child Center) โดยมีครูอาจารย์คอยให้คำแนะนำ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เป็นการพัฒนาบุคลากรไทยให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถและศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
                         พิชชาภรณ์ อุโพธิ์ นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏสงขลา เจ้าของรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ การประกวดเรียงความของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ในหัวข้อ 'คอมพิวเตอร์กับสังคมในสายตาของฉันได้กล่าวแสดงทัศนคติถึงอินเทอร์เน็ตกับนักเรียนไทยในอนาคตว่า อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการรับรู้ข่าวสาร การติดต่อ การสื่อสาร การศึกษา สิ่งเหล่านี้คือประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าในเวลาที่เท่ากันเรากลับทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เช่น การหาความบันเทิงจากอินเทอร์เน็ตมากเกินไป หรือดูรูปลามกอนาจาร นั่นคือโทษจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ผิดวัตถุประสงค์ ส่วนผลที่ได้รับ ถ้าในระยะเวลาที่เท่ากันเราใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลเพื่อการศึกษาหรือเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ที่มีประโยชน์ กับเรื่องที่ไร้สาระ ลองคิดดูว่า อย่างไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน
                         เนรมิต น้อยสำลี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา กล่าวว่า หากโครงการดังกล่าวนี้สามารถดำเนินการให้กับโรงเรียนทั่วประเทศได้อย่างทั่วถึง คงจะเป็นการยกระดับการศึกษาของนักเรียนไปอีกก้าวหนึ่ง ซึ่งปกติที่โรงเรียนก็มีอยู่แล้ว แต่เพราะจำนวนที่น้อยเกินไม่เพียงพอต่อนักเรียน เพื่อนบางคนยังไม่กล้าคลิกเมาส์เลยด้วยซ้ำไป เพราะกลัวว่าจะพังแล้วจะไม่มีใช้ บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าคำว่า 'เว็บไซต์หมายถึงอะไร หากโครงการดังกล่าวสามารถขยายไปสู่โรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะในชนบทได้ก็จะเป็นการเปิดหน้าใหม่ให้กับการศึกษาไทยได้เลยทีเดียว
                         ว่าที่ร้อยตรี วัชรินทร์ วรรณตุง ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการโรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ ซึ่งมีส่วนผลักดันการศึกษาให้ควบคู่กับเทคโนโลยีทางสารสนเทศ โดยเฉพาะด้านอินเทอร์เน็ต จนสามารถคว้ารางวัล 'โรงเรียนดีเด่นด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางอินเตอร์เน็ต' ทางโรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ กลุ่ม SouthernNet ซึ่งมีกิจกรรมทางด้านวิชาการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงทำให้นักเรียนในโรงเรียนมีโอกาสเรียนรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ก่อนที่จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นแหล่งข้อมูลค้นคว้าต่อไปในอนาคต และทันทีที่มีโครงการ (School Net) ทางโรงเรียนก็ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อจะเป็นการเพิ่มข้อมูลและฐานการศึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ตแก่นักเรียนในโรงเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมและใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา โดยจัดกิจกรรมทางด้านวิชาการและสร้างเครือข่ายห้องสมุด Digital Library โดยให้นักเรียน และคณาจารย์เป็นผู้ดูแล เพื่อจะเป็นแนวทางในการศึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต ด้วย
                         หากโครงการนี้สามารถดำเนินได้รวดเร็วและครบร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกโรงเรียนทั่วประเทศเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเราก็อาจจะสามารถบอกลาการศึกษาของเด็กไทยแบบเก่าที่เรียนแบบท่องจำหรือเรียนแบบนกแก้วนกขุนทองเสียที



อ้างอิง
วิโรจน์ อรุณมานะกุล. ๒๕๕๖. อินเตอร์เน็ตและการศึกษาไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://pioneer.chula.ac.th/~awirote/ling/internetedu.htm๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
ม.ป.ป.. ๒๕๕๖. การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา.  (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://firstput.igetweb.com/index.php?mo=3&art=513022๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ 
ดร.อธิปัตย์ คลี่สุนทร. ๒๕๕๖. Internet&Schoolnet กับการเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.moe.go.th/main2/article/article5.htm#at.6๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น